วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2555

ภาพอาหารไทย4ภาค

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

ภาคใต้

สำรับอาหารภาคใต้

ภาคใต้


สำรับอาหารภาคใต้
ภาคใต้เป็นภาคที่มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลมากที่สุด ลักษณะภูมิประเทศเป็นแหลมที่ยื่นลงไปในทะเล ผู้คนที่อาศัยในดินแดนแถบนี้จึงนิยมทำการประมง เพราะมีทรัพยากรในท้องทะเลมากมาย เมื่ออาศัยอยู่ชายทะเล อาชีพเกี่ยวข้องกับทะเล อาหารหลักในการดำรงชีวิตจึงเป็นอาหารทะเล เพราะชีวิตของคนภาคใต้เกี่ยวข้องกับทะเล เมื่อออกทะเลหาอาหารมาได้มากเกินรับประทานให้หมดในหนึ่งมื้อได้ คนภาคใต้จึงนำอาหารที่ได้จากทะเลมาทำการถนอมอาหารเช่น กุ้งส้ม ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้กุ้งแตะ ซึ่งจะมีสีเขียวเมื่อนำมาทำเป็นกุ้งส้มสีจะออกแดงๆ และมีรสเปรี้ยว การทำกุ้งส้มนั้นนำกุ้งมาหมักกับเกลือ น้ำตาลทรายโดยหมักทิ้งไว้ประมาณ 7 วันจนมีรสเปรี้ยว จึงนำมาทำอาหารรับประทานได้

การที่อาหารภาคใต้มีรสร้อน รสเผ็ดและกลิ่นฉุนของเครื่องเทศก็เป็นเพราะวัฒนธรรมการบริโภคอาหารพื้นเมืองของชาวใต้นี้มีความเหมาะกับสภาพภูมิอากาศและสุขภาพอย่างมากมายเนื่อง เนื่องจากภาคใต้มีภูมิอากาศร้อนชื้น ทำให้ง่ายแก่การเจ็บป่วย ดังนั้นอาหารพื้นเมืองที่รับประทานส่วนมาก จะมีรสเผ็ดช่วยให้ร่างกายอบอุ่นและช่วยป้องกันการเจ็บป่วยได้เป็นอย่างดี

อาหารภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อาหารอีสาน)

อาหารภาคตะวันออกเฉียงเหนือ - อาหารอีสาน

 

อาหารภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อาหารอีสาน)

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือที่เรียกติดปากกันว่าภาคอีสานเป็นชุมชนที่มีพื้นที่อันหลากหลายและยังได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมการบริโภคจากประเทศลาวซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงคนไทยมากที่สุด เรียกว่าเป็นบ้านพี่เมืองน้อง ชาวไทยบางชนเผ่าสืบเชื้อสายมาจากลาว พี่น้องลาวบางคนยังอาศัยอยู่ในเมืองไทย อาหารลาวเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมมากและมีลักษณะไม่แตกต่างจากอาหารอีสาน ชาวลาวมีวัฒนธรรมการบริโภคที่เป็นกันเองไม่ยุ่งยาก
อาหารภาคตะวันออกเฉียงเหนือ - อีสาน

ชาวอีสานนั้นดำรงชีพและหากินตามสภาพทางภูมิศาสตร์ของท้องถิ่นที่อาศัยอยู่ เช่น กลุ่มที่ตั้งชุมชนตามริมฝั่งแม่น้ำหรือหนองน้ำก็จะทำนาปลูกข้าว หาอาหารที่ได้จากแม่น้ำเช่น กุ้ง หอย ปลา ปู กบ เขียด ส่วนกลุ่มที่ตั้งถิ่นฐานตามภูเขาตามป่าย่อมเหมาะแก่การเลี้ยงชีพด้วยอาหารป่า ล่าสัตว์ หาเห็ด หาผึ้ง เป็นต้น ชาวอีสานมีวิถีชีวิตที่ดำเนินเรียบง่าย รับประทานอาหารได้ทุกอย่าง อาหารพื้นบ้านอีสานส่วนใหญ่แล้วจะออกรสชาติไปทางเผ็ด เค็มและเปรี้ยว รู้จักการนำสิ่งต่างๆ มาทำดัดแปลงเป็นอาหารในท้องถิ่น อาหารทางอีสานทุกมื้อจะต้องมีผักเป็นส่วนประกอบหลักและพวกเนื้ออย่างเช่น เนื้อปลา เนื้อวัว หรือเนื้อควาย แล้วแต่ความชอบของบุคคลนั้น

อาหารภาคเหนือ

อาหารภาคเหนือ

อาหารภาคเหนือ

ในอดีตบริเวณภาคเหนือของไทยเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนามาก่อนโดยศูนย์กลางทั้งหมดอยู่ที่เชียงใหม่ภายหลังคนไทยได้อพยพไปทางใต้และตั้งอาณาจักรสุโขทัย ให้เป็นเมืองหลวงของสยาม หลังจากสมัยสุโขทัย ก็ต่อด้วยอยุธยาเป็นลำดับต่อมาและท้ายสุดที่กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศไทยในปัจจุบัน ช่วงที่อาณาจักรแห่งนี้เรืองอำนาจได้แผ่ขยายอาณาเขตเข้าไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า ลาวและมีผู้คนจากดินแดนต่างๆ อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนแห่งนี้ จึงได้รับวัฒนธรรมหลากหลายจากชนชาติต่างๆ เข้ามาในชีวิตประจำวันรวมทั้งอาหารการกินด้วย
อาหารภาคเหนือ

เนื่องจากทางภาคเหนือมีอากาศที่เย็นจึงทำให้มีพืชผักที่สดกว่าในจังหวัดอื่นๆ ทำให้ส่วนประกอบของอาหารทุกมื้อจะมีผักเป็นส่วนใหญ่ อาหารที่เป็นที่รู้จักกันทางภาคเหนือ บางประเภทก็ได้รับอิทธิพลจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างพม่าและลาว จึงทำให้อาหารพื้นบ้านหรืออาหารท้องถิ่นในบางที่อาจจะมีรสชาติที่แตกต่างกันไป

อาหารภาคเหนือ

อาหารภาคเหนือ

อาหารภาคเหนือ

ในอดีตบริเวณภาคเหนือของไทยเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนามาก่อนโดยศูนย์กลางทั้งหมดอยู่ที่เชียงใหม่ภายหลังคนไทยได้อพยพไปทางใต้และตั้งอาณาจักรสุโขทัย ให้เป็นเมืองหลวงของสยาม หลังจากสมัยสุโขทัย ก็ต่อด้วยอยุธยาเป็นลำดับต่อมาและท้ายสุดที่กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศไทยในปัจจุบัน ช่วงที่อาณาจักรแห่งนี้เรืองอำนาจได้แผ่ขยายอาณาเขตเข้าไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า ลาวและมีผู้คนจากดินแดนต่างๆ อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนแห่งนี้ จึงได้รับวัฒนธรรมหลากหลายจากชนชาติต่างๆ เข้ามาในชีวิตประจำวันรวมทั้งอาหารการกินด้วย
อาหารภาคเหนือ

เนื่องจากทางภาคเหนือมีอากาศที่เย็นจึงทำให้มีพืชผักที่สดกว่าในจังหวัดอื่นๆ ทำให้ส่วนประกอบของอาหารทุกมื้อจะมีผักเป็นส่วนใหญ่ อาหารที่เป็นที่รู้จักกันทางภาคเหนือ บางประเภทก็ได้รับอิทธิพลจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างพม่าและลาว จึงทำให้อาหารพื้นบ้านหรืออาหารท้องถิ่นในบางที่อาจจะมีรสชาติที่แตกต่างกันไป

ภาคกลาง

Food of Central Plains Central Thailand

ภาคกลาง

ภาคกลาง นับได้ว่าเป็นภาคที่มีความอุดมสมบูรณ์มากกว่าภาคอื่นๆ ถือได้ว่าภาคกลาง เป็นอู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญของประเทศไทย เนื่องจากสภาพทางภูมิประเทศที่เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำลำคลอง หนอง บึงมากมาย จึงทำให้ภาคกลางเป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญของประเทศไมว่าจะเป็นด้านเกษตรกรรม หรือปศุสัตว์ นอกนั้นจากในบางพื้นที่ของภาคกลางยังมีบางส่วนที่ติดกับทะเลจึงทำให้ภาคกลาง มีวัตถุดิบที่ใช้ในกาปรุงอาหารที่หลากหลาย
อาหารภาคกลาง

อาหารภาคกลาง เป็นประดิษฐ์กรรมทางวัฒนธรรมที่เกิดจากการผสมผสานวัฒนธรรมจากหลากหลายเชื้อชาติได้แก่ จีน อินเดีย เขมร พม่า เวียดนามและประเทศจากชาติตะวันตกที่ เข้ามานับตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ตัวอย่างได้แก่ อาหารประเภทแกงกะทิและเครื่องแกง ได้รับอิทธิพลมาจากชาวฮินดู การผัดโดยการใช้กระทะและน้ำมันมาจากประเทศจีน ขนมเบื้องไทย ดัดแปลงมาจากขนมเบื้องญวน ขนมหวานประเภททองหยิบ ทองหยอด ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศทางตะวันตกเป็นต้น ดังนั้นอาหารภาคกลางจึงเป็นอาหารที่มีความหลากหลายทั้งในด้านการปรุงและรสชาติ นอกจากนี้อาหารมักจะถูกประดิษฐ์ให้เป็นอาหารที่เลิศรส วิจิตรบรรจง ซึ่งได้รับวัฒนธรรมมาจากราชสำนัก ตัวอย่างอาหารเช่น ช่อม่วง จ่ามงกุฎ หรุ่ม ลูกชุบ กระเช้าสีดา ทองหยิบ ข้าวแช่ รวมทั้งการแกะสลักผักและผลไม้ได้อย่างวิจิตรเป็นต้น

อาหารภาคใต้

อาหารภาคใต้
ภาคใต้ เป็นภาคที่มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลมากที่สุด ลักษณะภูมิประเทศ เป็นแหลมที่ยื่นลงไปในทะเล ผู้คนที่อาศัยในดินแดนแถบนี้จึงนิยมทำการประมง เพราะมีทรัพยากรในท้องทะเลมากมาย เมื่ออาศัยอยู่ชายทะเล อาชีพเกี่ยวข้องกับทะเล อาหารหลักในการดำรงชีวิตจึงเป็นอาหารทะเล อาหารส่วนใหญ่ของคนภาคใต้ มักเกี่ยวข้องกับปลา และสิ่งอื่นๆ จากท้องทะเล อาหารทะเลหรือปลา โดยธรรมชาติจะมีกลิ่นคาวจัด อาหารภาคใต้จึงไม่พ้นเครื่องเทศ โดยเฉพาะขมิ้นดูจะเป็นสิ่งที่แทบจะขาดไม่ได้เลย เพราะช่วยในการดับกลิ่นคาว ได้ดีนัก ฉะนั้นจะเห็นได้ว่า อาหารปักษ์ใต้จะมีสีออกเหลือง ๆ แทบทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นแกงไตปลา แกงส้ม แกงพริก ปลาทอด ไก่ทอด ก็มีขมิ้นกันทั้งสิ้น และมองในอีกด้านหนึ่ง คงเป็นวัฒนธรรมการกินที่ผสมผสานกลมกลืนกัน ระหว่างชาวไทยพุทธ และชาวไทยมุสลิมในภาคใต้นั่นเอง เพราะชีวิตของคนภาคใต้ เกี่ยวข้องกับทะเล เมื่อออกทะเลหาอาหารมาได้มากเกิดรับประทานให้หมดในหนึ่งมื้อได้ คนภาคใต้ ึงนำอาหารที่ได้จากทะเล มาทำการถนอมอาหาร เช่น กุ้งส้ม ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้กุ้งแตะ ซึ่งจะมีสีเขียวชนิดนี้เมื่อนำมาทำเป็นกุ้งส้ม สีจะออกแดง ๆ และมีรสเปรี้ยว การทำกุ้งส้มนั้น นำกุ้งมาหมักกับเกลือ น้ำตาลทราย หมักทิ้งไว้ประมาณ 7 วันจนมีรสเปรี้ยว จึงนำมาทำอาหารรับประทานได้